วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Ep2:: Tense เรื่องง่ายๆ ถ้าไม่ถึงตายต้องรู้!!!!

       เวลานึกถึงภาษาอังกฤษ คนจะนึกถึง grammar เรื่อง tense เป็นเรื่องแรกเสมอ บางตำราระบุว่า "tense คือหัวใจของ grammar" ส่วนตัวแล้ว เราคิดว่า tense สำคัญเพราะเป็นพื้นฐานของ grammar ในส่วนอื่นๆ มากกว่า เพราะถ้ามาไล่ดู จะเห็นว่า grammar หรือ accessory (n.เครื่องประดับ, adj. additional, extra) อื่นๆ ต้องใช้ความรู้เรื่อง tense เป็นพื้นฐานสำคัญ (อย่าเพิ่งหลับ...เพิ่งจะเริ่มเองนะ)


"Tense (s) คือ รูปแบบประโยคที่มีทั้งภาคประธาน (subject) และภาคแสดง (predicate) โดยที่ภาคแสดงจะมีโครงสร้างของกริยาเปลี่ยนไปเมื่อเวลาเปลี่ยน"

      เพราะประโยคในภาษาอังกฤษมีเวลาเป็นตัวแปร การใช้ภาษาอังกฤษเลยไม่เหมือนกับภาษาไทย การพูดถึง verb คนละช่วงเวลา กริยาที่ใช้จะแตกต่างกันด้วย ในภาษาไทยคำว่า "กินข้าว" ไม่ว่าจะกินข้าววันไหน เวลาไหน กินแล้วหรือยังไม่กิน คำว่า "กิน" จะไม่เปลี่ยนไป ในทางตรงกันข้าม ลองดูในภาษาอังกฤษนะ
- I eat rice every day. (ฉันกินข้าวทุกวัน; กริยาช่องที่ 1)
(Present simple tense - S + V1 ใช้พูดถึงสิ่งที่ทำเป็นปกติ, กิจวัตรประจำวัน) 
- I have just eaten rice. (ฉันพึ่งกินข้าว; กริยาช่องที่ 3) 
(Present perfect tense - S + have/has + V3 ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่พึ่งจบลงไปใหม่ๆ แต่ผลของเหตุการณ์ยังอยู่ - ยังอิ่มอยู่เลย) 
- I ate rice already. (ฉันกินข้าวแล้ว; กริยาช่องที่ 2)
(Past simple tense - S + V2 ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดและจบลงไปแล้วในอดีต - ไม่มีผลถึงปัจจุบัน) 

ถามก่อนเลย...เห็นอะไรมั๊ย?


จากชนิดของ tense ที่ระบุไว้ จะเห็นว่า tense เกี่ยวข้องกับกริยา 3 ช่องที่ได้พูดไว้ใน Episode 1 (English for the beginners ทำ grammar ให้เป็นเรื่องกล้วยๆ) ว่า "ถ้าเรียน grammar แล้วจะต้องตาย เราก็ต้องรู้จักกริยา 3 ช่องให้ได้" ทีนี้กริยา 3 ช่องที่ว่ามีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
1. กริยาช่องที่ 1 (present simple form, infinitive) ใช้กับ present simple tense หรือใช้ตามหลังกริยาช่วย เช่น will/ would/ can/ could/ shall/ should เป็นต้น 
2. กริยาช่องที่ 2 (past simple form) ใช้กับ past simple tense เท่านั้น
3. กริยาช่องที่ 3 (past participle form) ใช้กับ tense ที่ลงท้ายด้วย perfect tense และโครงสร้างที่เรียกว่า "passive voice" หรือประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ (S + verb to be + V3) ส่วน "active voice" ก็เป็นประโยคที่ประธานเป็นคนทำกริยานั้นเอง 



เคยสงสัยมั๊ย? ทำไม tense ที่เรียนถึงมี 12 tense? 
คำตอบคือ เพราะ tense มันเกี่ยวกับเวลาที่ใช้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ คืออดีต (past) ปัจจุบัน (present) และอนาคต (future) และแต่ละช่วงเวลาจะมีประโยคย่อยๆ เป็นส่วนประกอบเหมือนกันหมดอีก 4 แบบคือประโยคที่ลงท้ายด้วย simple, continuous, perfect และ perfect continuous tense ดังนั้น tense ที่เราต้องเรียน จึงมีทั้งหมด 3*4 = 12 tense เป๊ะๆ ไม่ขาดไม่เกิน!

จากแผนภาพด้านบน tense ที่เกิดขึ้น ได้แก่ 
1. present simple tense 
2. present continuous tense
3. present perfect tense 
4. present perfect continuous tense
ส่วนอีก 8 tense ที่เหลือก็คือการเอาคำว่า past และ future ไปแทนที่ present ในตัวอย่างที่ 1 - 4 ทั้งหมดก็รวมเป็น 12 tense พอดิบพอดี! เป็นอันจบที่มาของ tense ที่เราควรรู้ค่ะ


ต่อมา...
จากโครงสร้าง tense ที่แสดงไว้จะอธิบายต่อว่า ในประโยคหนึ่งๆ สามารถมีได้ทั้ง verb แท้และ verb ช่วยค่ะ จากภาพด้านล่างนะ ในวงกลมสีแดงเป็น verb ช่วย ส่วนในกรอบสีฟ้าเป็น verb แท้ของประโยค   
tense ขึ้นต้นด้วย present ใช้ V1
tense ขึ้นต้นด้วย past ใช้ V2

          "หน้าตาของ verb ช่วยจะเป็นตัวแสดงเวลาในประโยคว่าประโยคนั้นเกิดขึ้นตอนไหน (อดีต/ปัจจุบัน/อนาคต) รวมถึงมีไว้เพื่อให้เกิดความถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ไม่มีความหมายเพราะความหมายที่แท้จริงของประโยคให้แปลจาก verb แท้ ซึ่งได้แก่ V1, V2, V3 และ V-ing

ก่อนจะไล่ดูทีละ tense ให้กลับไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับกริยา 3 ช่องด้านบนก่อนนะ เข้าใจแล้วก็เริ่มเลย!

"คำว่า simple แปลว่า "ง่าย" มีแค่ S + V ถ้าเป็น present ก็ใช้ V1, พอเป็น past ก็เปลี่ยนมาใช้ V2 และถ้าเป็น future มันเป็นอนาคต แปลว่าสิ่งนั้นยังไม่ได้ทำ แต่ "จะทำ" ในส่วนของ future tense ทั้งหมด หลังประธานจึงตามด้วย verb ช่วย will/ shall ที่แปลว่า "จะ" แล้วจึงตามด้วย verb แท้ที่เป็น V1"

"Continuous tense เป็น tense ที่ต้องมี verb to be ซึ่งตามหลังด้วย verb เติม -ing เสมอ ตัวที่จะเปลี่ยนไปเมื่อเวลาเปลี่ยนก็คือ verb to be  ถ้าเป็น present ก็ใช้ verb to be ช่องที่ 1 (is, am, are) ถ้าเป็น past ก็ใช้ verb to be ช่องที่ 2 (was, were) แต่ถ้าเป็น future tense หลัง will/shall ตามด้วย be + V-ing เสมอ (ไม่มี will is, am หรือ are)"

"perfect หรือ perfect continuous tense เป็น tense ที่มี verb to have เป็น verb ช่วย ถ้าเป็น present ก็ให้ใช้ verb to have ช่องที่ 1 (have, has) ถ้าเป็น past ก็ให้ใช้ verb to have ช่องที่ 2 (had) และเช่นเดิม ในกรณีของ future หลัง will/shall ให้ใช้ have ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ส่วนโครงสร้างอื่นๆ ให้คงรูปเดิมไว้

ดังนั้น หากนำสิ่งที่พูดมาทั้งหมดมารวมอยู่ในตารางเดียว ก็จะมีหน้าตาเหมือนตารางข้างล่างเลยค่ะ^^
แก้ไข **Future continuous เป็น S + will/ shall + be+ Ving



จากตาราง เห็นมั๊ยว่าทุก tense มี S กับส่วนท้ายเหมือนกันหมด เราแค่จำว่าส่วนที่เหมือนกันหมดคืออะไร แล้วกริยาช่วยที่เปลี่ยนไปตามเวลาในปัจจุบัน-อดีต-อนาคต มีรูปเป็นอย่างไร ตั้งใจจริงๆ แค่ 10 นาที อาจเปลี่ยนความไม่เข้าใจของเราไปได้ตลอดชีวิตเลยน้า!!!!
    
 มาต่อกันในเรื่องประโยคปฏิเสธและประโยคคำถาม

     แน่นอนว่าตลอดชีวิตเรา เราคงไม่เล่าอะไรให้ใครฟังตลอดเวลา ใช่มั๊ยล่ะ เพราะเราต้องรู้จักปฏิเสธและถามด้วย ทีนี้ถ้าเราแม่นโครงสร้างที่เป็นประโยคบอกเล่าแล้ว ให้จำไว้ว่า นอกจาก present simple และ past simple แล้ว อีก 10 tense ที่เหลือมีกริยาช่วยหมด การสร้างประโยคปฏิเสธกับคำถามของ 10 tense นี้จึงดูที่กริยาช่วยเป็นหลัก คือ
  • ถ้าจะสร้างประโยคปฏิเสธก็ให้เติม not หลังกริยาช่วยได้เลย
  • ถ้าจะสร้างประโยคคำถาม ก็ให้ย้ายกริยาช่วยไปวางไว้หน้าประธาน ส่วนทุกอย่างก็ให้อยู่ในตำแหน่งเดิม

   เห็นมั๊ย? ง่ายๆ เลย ^__________________^  

    อ่านซ้ำจนเข้าใจ แล้วเจอกันใหม่ใน  blog หน้านะคะ




Kade











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เมื่อต้องใช้ present simple และ present continuous tense

ในหัวข้อนี้นะคะ ถ้าใครเปิดมาเพื่ออ่าน blog นี้เลย แต่อาจจะอยากจะทราบ detail ของทั้งสอง tense นี้ ให้ตามไปอ่านเนื้อหาพร้อมกับแบบฝึกหัดใน ...